เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้างศาลาปฏิบัติธรรมเอนกประสงค์ วัดประชาสันติ จุดประสงค์ ชั้น 1 สำหรับใช้เป็นที่เก็บของ ชั้น 2 สำหรับใช้เป็นโรงครัวและศาลาจัดเลี้ยง ชั้น 3 สำหรับใช้เป็นที่พักของฆราวาสผู้หญิงที่มาบวชชีพราหมณ์ งบประมาณในการสร้าง 8,300,000 บาท ระยะเวลาในการสร้าง 10 เดือน (โดยประมาณ) *** ข้อมูลอื่นๆ ดูได้ตามภาพประกอบ***
Author: admin
ทอดกฐินสามัคคีเจ้าภาพ ณ วัดประชาสันติ (11 พฤศจิกายน 2555)
ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคีเจ้าภาพ ณ วัดประชาสันติ ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ด้วยคณะกรรมการวัดประชาสันติ กรรมการมูลนิธิโพธิธรรมประภาส – ผู้มีจิตศรัทธา พร้อมคณะกลุ่มลูกศิษย์อาจารย์เชือนภายใต้การนำของพระครูโพธิธรรมประภาส วัดประชาสันติ พังงา ได้กำหนดการทอดกฐินสามัคคีเจ้าภาพเพื่อสมทบทุนซ่อมแซมปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ วัดประชาสันติ ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ในวันวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 เวลา
ลักษณะของจิต
ลักษณะของจิต (ธรรมะโดยพระครูโพธิธรรมประภาส หรือพระอาจารย์เชือน ปภัสสโร วัดประชาสันติ จังหวัดพังงา) จิตของพวกเรานี้เรารู้ไหมว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร จิตนี้มีลักษณะเป็นกลางๆ เฉยๆ คุณลองสูดหายใจเข้าให้เต็มที่ อัดให้เต็มปอด แล้วกลั้นไว้สักครู่ นั่นแหละเขาเรียกว่าจิต มันมีลักษณะไม่เป็นหญิง ไม่เป็นชาย ไม่เป็นพระ ไม่เป็นฆราวาส ไม่ชั่ว ไม่ดี ไม่เป็นสีดำ ไม่เป็นสีขาว ไม่มีความรู้สึกใดๆ ทั้งสิ้นความเป็นหญิง ชาย
การพิจารณา
การพิจารณา (ธรรมะโดยพระครูโพธิธรรมประภาส หรือพระอาจารย์เชือน ปภัสสโร วัดประชาสันติ) การสร้างสมาธินี่ก็สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นรากเป็นฐานของปัญญา อย่างที่เคยบอกว่าสมถะกับวิปัสสนานี่มันเป็นของคู่กัน แยกกันไม่ได้ เมื่อเข้าสู่สมาธิได้แล้วก็คือมีฐานมั่นคงแล้ว ทีนี้ก็ต้องเอาฐานคือความสงบนี่แหละมาใช้ เพื่อที่จะใช้เป็นวิปัสสนาต่อไป คือมาสร้างอุบายที่ก่อให้เกิดปัญญาต่อไป ทีนี้อุบายแบบไหนล่ะ ก็คือการพิจารณาธาตุขันธ์ พิจารณากายให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อจะได้รู้แจ้งเห็นจริง ไม่ใช่รู้จำ ทีนี้เวลาจิตพิจารณาก็อย่าไปบังคับมัน ให้มันสอนตัวมันเอง ไม่ต้องไปบังคับมัน อันนี้เรียกว่าธรรมวิจย บางทีเวลามันเกิดสลด สังเวชขึ้นมามันก็รวมวูบลงได้
สมถะกัมมัฏฐานกับวิปัสสนากัมมัฏฐาน
สมถะกัมมัฏฐาน กับ วิปัสสนากัมมัฏฐาน (ธรรมะโดยพระครูโพธิธรรมประภาส หรือพระอาจารย์เชือน ปภัสสโร วัดประชาสันติ) สมถะคือความสงบนั่นแหละ อุบายอันใด ที่ก่อให้ใจเกิดความสงบ อุบายอันนั้นท่านเรียกว่าสมถะกัมมัฏฐาน วิปัสสนาคือปัญญา อุบายอันที่กิอให้จิตเกิดปัญญา อุบายอันนั้นคือวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทั้งสองอย่างนี้เป็นของคู่กัน ต้องมาด้วยกัน ขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปเสียไม่ได้ การที่เราจะฝึกใจของเราให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดนี่ต้องทำให้ใจมันเกิดความสงบลงเสียก่อน คือทำให้เกิดสมาธิเสียก่อน อันนี้คือสมถะกัมมัฏฐาน ทีนี้พอใจสงบลงแล้ว ก็เข้าสู่อุบายการพิจารณาต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยฐานแห่งสมาธิ ฐานแห่งความสงบเป็นที่ตั้ง